ประกันรถยนต์

ประเทศไทยเริ่มมีบริษัทประกันมาราวครึ่งศตวรรษแล้ว และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ผ่านพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยปี 2535 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2551 ซึ่งมีการโยกย้ายอำนาจในการควบคุมดูแลไปยังกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังบังคับไม่ให้บริษัทประกันต่างประเทศเข้ามาเปิดการทำการ หรือเปิดสาขาในประเทศไทย ตามแต่เงื่อนไข นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. คือหน่วยงานอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 เพื่อแบ่งเบาภาระการควบคุมดูแลการบริษัทประกันจากกระทรวงนั่นเอง

ประกันรถยนต์

หลายๆ ท่านที่ขับรถยนต์มักจะคิดว่าการซื้อ “ประกันภัยรถยนต์” คือภาระทางการเงินเพิ่มเติม ที่ไม่ค่อยจะอยากเสียเท่าไหร่ แต่ทว่าการทำประกันภัยรถยนต์นั้น คือวิธีการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าในอนาคตเราจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือไม่ เช่นการถูกขโมยรถยน ถูกชน เป็นต้น เพราะในแต่ละครั้งที่ขับรถอาจจะเจออันตรายได้ทุกเมื่อ และไม่ว่าใครจะเป็นคนผิดก็ตาม การที่ไม่มีประกันคุ้มครองก็จะต้องจบลงด้วยการเสียเงินมากกว่าในการซ่อมแซมค่าเสียหายต่างๆ และหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น สิ่งที่ตามาคือค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายที่เกิดต่อรถของคุณ และรถคู่กรณี และอื่นๆ ความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะถูกจัดการด้วย “ประกันรถยนต์” โดยบริษัทประกันจะจัดเก็บเบี้ยประกันจากคุณตามประเภทประกันรถยนต์ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น และมีการเคลม ประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์นั้นๆ

ส่วนในรถที่นิยมต่อการถูกขโมยบ่อย และเกิดการหายบ่อย ก็จะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ถ้ารถของคุณมีระบบป้องกันการขโมยเพิ่มเติมที่แน่นหนามาก ก็อาจนำไปขอเป็นส่วนลดได้